


The Rohingya: On the Edge of existence
คริส บีล (Chris Beale) ช่างภาพผู้เดินทางไปบันทึกถ่ายภาพสารคดี เกี่ยวกับการกวาดล้างชาติพันธุ์มุสลิมโรฮิงญาในพม่า ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอดจากประเทศพม่าไปยังประเทศบังกลาเทศและประเทศไทย จากการถูกกักขังและทารุณกรรมในค่ายผู้พลัดถิ่นในรัฐยะไข่ ตลอดจนการถูกบังคับให้ต้องอพยพออกจากพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขา ที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 9 ปี ภาพถ่ายที่ถูกบันทึกโดยคริส บีลเมื่อปี ค.ศ.2017 จะถูกนำแสดงสู่สาธารณชนอีกครั้ง หลังจากที่ทหารพม่าได้ทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนมาแล้วร่วม 5 เดือน
เกี่ยวกับโรฮิงญา
โรฮิงญา กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่เป็นเวลานานหลายทศวรรษ แต่ด้วยพรมแดนที่ติดกับบังกลาเทศ พวกเขาจึงถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลพม่า ว่าชาวโรฮิงญาเป็นคนนอกและพยายามแทรกแซงศาสนาพุทธด้วยศาสนาอิสลาม ในปี 1982 รัฐบาลพม่าได้เพิกถอนการให้สัญชาติแก่ชาวโรฮิงญา จึงทำให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มคนไร้สัญชาติ และจากเหตุการณ์นี้เอง จึงทำให้ชาวโรฮิงญาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย ตั้งแต่การบังคับการใช้แรงงาน ยึดพื้นที่ทำกิน การถูกจับคุมโดยมิชอบทางกฎหมาย มีข้อจำกัดในการแต่งงานและคุมกำเนิด รวมไปถึงการเข้ารักษาสุขภาพที่ไม่เพียงพอและการขาดโอกาสทางการศึกษา ในปี ค.ศ.2012 กลุ่มคนที่ต่อต้านศาสนาอิสลาม ได้ใช้ช่องทางเฟซบุ๊กในการแสดงความเกลียดชังต่อชาวโรฮิงญา และจากคำพูดเหล่านั้น จึงทำให้เกิดเหตุจราจลภายในรัฐยะไข่ สร้างความสูญเสียต่อผู้คนและที่อยู่อาศัยมากมาย และด้วยเหตุการณ์นี้เอง ทางผู้มีอำนาจในพม่าจึงได้กักขังชาวโรฮิงญากว่า 140,000 คน อยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่น สถานที่ที่ไม่สามารถไปไหนได้ ยาวนานมาจนถึงปัจจุบันในปี 2017 ชาวโรฮิงญาถูกกดขี่ข่มเหงมากขึ้นโดยทหารพม่า จึงทำให้ชาวโรฮิงญาหลายพันคนต้องว่ายน้ำข้ามพรมแดนไปยังบังกลาเทศ และมีชาวโรฮิงญาอีกจำนวนมากที่ถูกกักตัวอยู่ในค่ายอพยพในสภาพที่ลำบาก ถูกตัดขาดในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ที่พวกเขาควรมี แต่ก็ยังมีชาวโรฮิงญากว่าอีก 400,000 คนที่ยังคงอยู่ในรัฐยะไข่ บางส่วนได้ทำการอพยพไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศไทยสำเร็จ จนได้รับโอกาสในการทำงานและอยู่อาศัยอย่างปลอดภัย
เกี่ยวกับศิลปิน
คริส บีล ช่างภาพจากซานฟรานซิสโก ที่เน้นสร้างผลงานเกี่ยวกลุ่มคนชายขอบ ผลงานของเขาได้ออกสู่สาธารณะมากมาย เช่น Roads & Kingdoms, 7x7, Juxtapoz, และ Hamburger Eyes รวมไปถึงได้จัดแสดงนิทรรศการในซานฟรานซิสโก, ปารีส, กรุงเทพ ฯ และขอนแก่น
Photographer Chris Beale documents the ethnic cleansing of the Rohingya from Myanmar and their struggle to survive as refugees in Bangladesh and Thailand. The exhibit spans nine years, taking us from their confinement in internally displaced camps in Rakhine State through their forced exodus to Bangladesh, to selling roti in the old quarter of Khon Kaen, Thailand. The exhibition opens five months after Myanmar’s military regained power over the country in a coup d’etat.
About the Rohingya:
The Rohingya are an ethnic minority from Myanmar’s Rakhine state, which borders Bangladesh. Even though the Rohingya have lived in the region for centuries, the Myanmar government claims they are interlopers from Bangladesh who are attempting to establish an Islamic state in a Buddhist majority country. In 1982, the government officially revoked the Rohingya's citizenship, rendering more than a million people stateless. For decades, the Rohingya have been subjected to wide range of human rights violations, including forced labor, land confiscation, unlawful imprisonment, restrictions on marriage and childbirth, and lack of adequate healthcare and educational opportunities.
Beginning in 2012, the Buddhist Monk Wirathu and other anti-Muslim extremists have used Facebook to spread hate speech against the Rohingya. These postings prompted riots throughout Rakhine, which left hundreds of Rohingya dead and thousands of homes destroyed. Following the attacks, the Myanmar authorities forcibly confined some 140,000 Rohingyas in squalid internally displaced camps where they are still trapped today with almost no access to schools, hospitals, and employment.
In 2017, Myanmar’s military escalated their persecution of the Rohingya. In a scorched earth campaign of mass murder, rape, and the razing of villages, hundreds of thousands of Rohingya were driven across the border into neighboring Bangladesh. Today, more than a million Rohingya live in appalling conditions, quarantined to massive makeshift refugee camps, sleeping on the ground in huts under plastic tarp roofs, without access to employment or proper education. Some 400,000 Rohingyas remain in Rakhine State. A brave few have made it to countries like Malaysia and Thailand where they can work and live relatively safely under the radar.
About the photographer:
Chris Beale is a San Francisco-based photographer whose work focuses on marginalized people and communities. His photographs have appeared in Roads & Kingdoms, 7X7, Juxtapoz and Hamburger Eyes and have been exhibited in San Francisco, Paris, Bangkok and Khon Kaen.
CHRIS BEALE